ReadyPlanet.com
dot
dot
สมุนไพรยุคใหม่
dot
bulletผลวิจัยสมุนไพรยุคใหม่
bulletผลวิจัยสมุนไพรต้านมะเร็ง
dot
ภาพสมุนไพรและสรรพคุณ
dot
bulletภาพสมุนไพร และสรรพคุณ จำนวน 712 ชนิด ( ชมภาพขนาด 500 X 375 Px)
dot
ประสบการณ์ ผู้ใช้สมุนไพร
dot
bulletประสบการณ์ที่ 1
bulletประสบการณ์ที่ 2
bulletประสบการณ์ที่ 3
dot
ข้อแนะนำในการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนปัจุบัน
dot
bulletการใช้ยาสมุนไพรและยาแผนปัจจุบัน
dot
สรรพคุณสมุนไพร แก้โรคต่างๆ 42 โรค
dot
bullet แก้ไข้
bulletแก้ตกโลหิต/ห้ามเลือด
bulletแก้ตับทรุด ม้ามย้อย
bulletแก้ตานซาง
bulletท้องร่วง แก้บิด
bulletแก้นำเหลืองเสีย
bulletแก้ประดง
bulletแก้พิษเบื่อเมา
bulletแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
bulletแก้พิษอักเสบ
bulletแก้ริดสีดวงทวาร
bulletแก้โรคตา
bulletแก้โรคผิวหนัง
bulletแก้โรคฟัน
bulletแก้โรคหู
bulletแก้สะอึก
bulletแก้เสมหะ ( คูถเสมหะ)
bulletแก้เสมหะ (ศอเสมหะ)
bulletแก้เสมหะ (อุระเสมหะ)
bulletแก้อักเสบ ฝี หนอง มะเร็ง
bulletแก้อาเจียน
bulletแก้ไอ ขับเสมหะ
bulletแก้ไอ หรืออาเจียนเป็นโลหิต
bulletขับปัสสาวะ และนิ่ว
bulletขับพยาธิ์ลำไส้
bulletขับลมในลำไส้ (บำรุงธาตุ)
bulletขับโลหิตระดู
bulletขับเหงื่อ
bulletเจริญอาหาร
bulletทำให้ถ่ายอย่างแรง
bulletทำให้ระบายท้อง
bulletทำให้อาเจียน
bulletบำรุงครรภ์รักษา
bulletบำรุงนำดี
bulletบำรุงนำนม/ขับนำนม
bulletบำรุงประสาท
bulletบำรุงปอด
bulletบำรุงโลหิต
bulletบำรุงเส้นเอ็น
bulletบำรุงหัวใจ
bulletฟอกโลหิตระดู
bulletอายุวัฒนะ
dot
การใช้สมุนไพร ยามเจ็บป่วย
dot
bulletอาการไข้ ตัวร้อน
bulletอาการไอ
bulletกลิ่นปาก และ แผลในปาก
bulletปวดฟัน
bulletปวดเจ็บท้อง จุกแน่น หรือแสบแน่นท้อง
bulletท้องเสีย ท้องเดิน
bulletท้องผูก
bulletอาเจียน
bulletผดผื่นคัน โรคผิวหนัง
bulletแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
bulletแผลอักเสบ สิว หนอง
bulletปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ
dot
ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ
dot
bulletยาสามัญประจำบ้าน 27 ขนาน ตามประกาศกระทรวง
dot
สูตรยาสมุนไพรโบราณ รักษาโรค 200 สูตร
dot
bulletยาแก้ขัดเบา
bulletยาแก้ไข้
bulletยาแก้ไข้ทับระดู
bulletยาแก้ไข้ท้องร่วง
bulletยาแก้ไข้ระงับพิษ
bulletยาแก้ไข้หวัด
bulletยาแก้ไข้หวัดใหญ่
bulletยาแก้ไข้หืด หัด สุกใส
bulletยาแก้ความจำเสื่อม
bulletยาแก้ความดันโลหิตสูง
bulletยาแก้งูสวัด
bulletยาแก้เด็กเป็นซาง
bulletยาแก้ตกเลือด
bulletยาแก้ตับทรุด
bulletยาแก้ตาแดง ตาเจ็บ
bulletยาแก้ตานขโมย
bulletยาแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ
bulletยาแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
bulletยาแก้ท้องเดิน ท้องเสีย
bulletยาแก้ท้องร่วง
bulletยาแก้ท้องอืด
bulletยาแก้นิ่ว
bulletยาแก้บิด มูกเลือด
bulletยาแก้ปวดฟัน
bulletยาแก้ปัญหาทางเพศ
bulletยาแก้ปวดเมื่อย
bulletยาแก้ปวดหลัง
bulletยาแก้ปวดหู
bulletยาแก้พิษบาดทะยัก
bulletยาแก้ มดลูกอักเสบ
bulletยาแก้ระดูไม่มาตามกำหนด
bulletยาแก้ร้อนในกระหายนำ
bulletยาแก้โรคกระเพาะ
bulletยาแก้โรคกระษัย
bulletยาแก้โรคดีซ่าน
bulletยาแก้โรคตับ
bulletยาแก้โรคเบาหวาน
bulletยาแก้โรคมะเร็ง
bulletยาแก้โรคริดสีดวงจมูก
bulletยาแก้โรคริดสีดวงทวาร
bulletยาแก้โรคลมต่างๆ
bulletยาแก้โรคหนองใน
bulletยาแก้เหน็บชาและอัมพาต
bulletยาแก้อาการผิดสำแดง
bulletยาแก้ไอ
bulletยาขับปัสสาวะ
bulletยาขับและฆ่าพยาธิ
bulletยาชะลอความชรา
bulletยาดองเหล้า
bulletยาทารักษาบาดแผลสด
bulletยาทำให้ผิวพรรณสวยงาม
bulletยาบำรุงกระดูก
bulletยาบำรุงกำลัง
bulletยาบำรุงไต แก้กามตายด้าน
bulletยาบำรุงธาตุ เจริญอาหาร
bulletยาบำรุงร่างกาย
bulletยาบำรุงโลหิต
bulletยารักษาธาตุ
bulletยาลดไขมัน
bulletยาสตรีที่ประจำเดือนผิดปกติ
bulletยาสตรีปวดประจำเดือนมาก
bulletยาสตรีวัยทอง
bulletยาเสาธงเหล็ก
bulletยาหม่องนำ ดมแก้หวัด
dot
ยาอายุวัฒนะ
dot
bulletชุดที่ 1 จำนวน 12 ขนาน
bulletชุดที่ 2 จำนวน 27 ขนาน
dot
ยอดยาสมุนไพร ขนานเอก ยุค จิ๋นซีฮ่องเต้
dot
bulletสูตรไข่ดิบดองน้ำส้มสายชูหมัก
dot
ยอดตำรายาสมุนไพรไทย
dot
bulletตำรายาเหงือกปลาหมอ
bulletตำรายาหัวกวาวเครือ
dot
สมุนไพรที่น่ารู้จัก
dot
bulletเรื่องที ๑ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
bulletเรื่องที่ ๒ สมุนไพร โสม
bulletเรื่องที่ ๓ เห็ดหลินจือกับแพทย์แผนปัจจุบัน
bulletเรื่องที่ ๔ สารสกัดจากเปลือกต้นสนมาริไทม์
dot
สาระน่ารู้ เคล็ดลับร้อยแปด
dot
bulletข่าวจากหนังสือพิมพ
bulletอาหารที่ทำให้อายุสั้น 10 อย่าง
bulletนมกับผลร้ายเมื่อดื่ม
bulletผลร้ายของการดื่มนม – ความลับด้านหลังดวงจันทร์
bulletประสบการณ์และข้อคิด อีกมุมหนึ่งของการดื่มนม
bulletอ่านสุขภาพจากการตรวจด้วยเทคโนโลยียุคใหม่
bulletเหตุที่คนญี่ปุ่นไม่ดื่มชาเขียวแช่เย็น
bulletเผยเคล็ดลับคนดังลดน้ำหนักอย่างได้ผล
dot
Updateข่าวสมุนไพร
dot
bulletข่าวจากหนังสือพิมพ์
dot
Newsletter

dot




ประสบการณ์ที่ 2

 

ประสบการณ์ ลำดับที่ 2
 แพทย์แผนโบราณ ( แผนไทยปัจจุบัน )รักษาโรคสตรีด้วยสมุนไพร
 
การให้คำจำกัดความ ความหมายและรูปแบบการรักษาโรคโลหิตสตรีกรณีศึกษา : แพทย์แผนโบราณ 5 จังหวัด

 
 


 

                การให้ความหมายของประจำเดือนของผู้ให้การรักษา (แพทย์แผนโบราณ) ย่อมมีความแตกต่างกันไป  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และการหล่อหลอมระบบความคิดในแต่ละบุคคล ซึ่งในแต่ละบุคคลย่อมมีคำอธิบายและเหตุผลที่จะให้การรักษาพยาบาลต่างกัน การนำเสนอให้เห็นเป็นกรณีศึกษาในเรื่ององค์ความรู้จากแพทย์แผนโบราณแต่ละคน จะทำให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการของการให้ความหมาย และการรักษาได้ชัดเจนในบริบทของแต่ละบุคคล
                ในบทนี้จะเป็นการนำเสนอกรณีศึกษาแพทย์แผนโบราณจำนวนทั้งสิ้น 5 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนของแพทย์แผนโบราณที่จะให้ความหมายของระดู การตีความและอาการของโรค ตลอดจนรูปแบบการให้ยารักษา โดยมีรายละเอียดและรูปแบบของการให้ความหมายและการรักษาดังรายละเอียดต่อไปนี้
1)        พ.ต.เรวัตร    พรหมหล่อ
แพทย์แผนโบราณจังหวัดลพบุรี
2)       อาจารย์มนาวุฒิ   ผุดผาด
แพทย์แผนโบราณจังหวัดกรุงเทพมหานคร
3)       อาจารย์สินทร ไชยฉกรรจ์
แพทย์แผนโบราณจังหวัดเชียงใหม่
4)        พ่อทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์
แพทย์แผนโบราณจังหวัดขอนแก่น
5)        อาจารย์ประกอบ อุบลขาวแพทย์
แผนโบราณจังหวัดสงขลา

 
 


 

การให้ความหมายและการรักษาโรคโลหิตสตรี :
กรณีพ.ต. เรวัตร พรหมหล่อ (หมอเรวัตร)
 
                โรคที่เกี่ยวกับโลหิตระดูสตรี ถือเป็นโรคประจำตัวของสตรี มีรายละเอียดดังนี้
                เลือดงามหรือเลือดบริบูรณ์ หมายความว่า โลหิตระดู (ประจำเดือน) มาทุกรอบเดือนตรงตามกำหนดสม่ำเสมอทุกเดือน ปกติประจำเดือนจะมารอบเดือนละ 28 วันจะก่อนกำหนดหรือหลังกำหนดได้ไม่เกิน 7 วัน มาครั้งละ 3-4 วัน สีแดงเรื่อ ๆ สีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ไม่มีกลิ่น ไม่ปวดท้อง
                เลือดไม่งามหรือเลือดไม่สมบูรณ์ จะตรงข้ามกับเลือดงาม หมายความใน 1 รอบเดือนประจำเดือนมากกว่า 1 ครั้ง หรือไม่มาเลย มา ๆ หยุด ๆ อาจ 2 เดือนมาครั้ง มามากหรือน้อยเกินไป มีสีดำกลิ่นไม่สะอาด     (เหม็นคาว) เป็นก้อน จะมีอาการแสดงออกคือจะหงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียวเหมือนคนบ้า ถ้าไม่รักษาอาจเป็นมะเร็งในมดลูกในที่สุด
 
ยาปรับโลหิตระดูสตรี (แก้เลือดไม่บริบูรณ์)
                หลักการต้องให้ยาล้างเลือดเสียออกให้หมดก่อนเรียกว่า ยาประจุโลหิต แล้วจึงให้ยาบำรุงโลหิตตาม        ยาประจุโลหิตที่ใช้ได้ผลดีคือยาพรหมพักต์ รสร้อนเข้าพวกเบญจกูล คือ ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูลเพลิง ขิง     (กินหลังจากประจำเดือนหมด)
                สรรพคุณ ขับประจำเดือน ขับเลือดเสีย ยาบำรุงโลหิต คือยาผิวทองนพคุณ ยากำลังราชสีห์ (ตามลำดับ) รสสุขุม (ตัวยาทั้งสองดังกล่าวอยู่ในคัมภีร์มหาโชตรัติ)
                คำว่าระดูทับไข้ หมายความว่า เป็นไข้อยู่ก่อนแล้วเกิดระดู (ประจำเดือน) มาทีหลัง (ระหว่างมีประจำเดือน)
                คำว่าไข้ทับระดู หมายความว่า มีประจำเดือนแล้วมีไข้ตามมาทีหลัง (ระหว่างมีประจำเดือน)
                ยาแก้ ต้องให้ยารสสุขุม จะให้ยารสเย็นไม่ได้ เพราะจะทำให้ประจำเดือนหยุดไหลและเลือดจะตีขึ้น จะให้ยารสร้อนไม่ได้ เพราะจะยิ่งทำให้ไข้สูงขึ้น จึงควรระวัง
 
        ลักษณะของโลหิตระดูสตรี มี 2 ลักษณะ
1)        โลหิตปกติโทษ มีที่มา 5 ประการ และเมื่อเป็นแล้วถึงไม่รักษาอาการก็จะหายไป คือ
1.       โลหิตระดูเกิดแต่หัวใจ (หทยัง) ก่อนมีระดูจะมีอารมณ์ไม่ดี โกรธ หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย ต่อเมื่อระดูมาอาการก็จะหายไป
2.       โลหิตระดูเกิดแต่กระดูก (อัฐิ) ก่อนมีระดูจะปวดเมื่อยตามข้อต่อกระดูก เหมือนกระดูกจะแตกต่อเมื่อระดูมาก็หายไป
3.       โลหิตระดูเกิดแต่ผิวเนื้อ (มังสัง) ก่อนมีระดู จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ชาตามผิวหนัง ผิวเนื้อต่อเมื่อระดูมาอาการก็หาย
4.     โลหิตระดูเกิดแต่เส้นเอ็น (นราหู) ก่อนมีระดูอาการจะคล้าย ๆ อัฐิ จะปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อเส้นเอ็นมก ต่อเมื่อระดูมาอาการก็หายไป
5.       โลหิตระดูเกิดแต่ขั้วดี (ปิตตัง) ก่อนมีระดูจะมีอาการเพ้อคลั่ง ร้อนละลุ่ม ต่อเมื่อระดูมาอาการก็หายไป
            2) โลหิตทุจริตโทษ มีที่มา 5 ประการเหมือนกัน จะต่างกันตรงเมื่อระดูมาแล้วอาการเหล่านั้นไม่หายไปหรือกำเริบขึ้น ซึ่งต้องวางยารักษาโดยเฉพาะโลหิตระดูเกิดจากหัวใจและขั้วดีแพทย์ต้องระวังให้ดีถ้าไม่ถูกอาจตายได้แพทย์ต้องวางยารสสุขุม (ยารักษามีอยู่ในคัมภีร์มหาโชตรัติ)
 
ตัวยาหลัก 3 ตัว 
สำหรับหญิงคลอดบุตรที่จะขาดไม่ได้ คือ
1.       ว่านสากเหล็ก
2.       ว่านนางคำ
3.       ว่านชักมดลูก
 
 
ยาขับน้ำคาวปลา 
ทำให้มดลูกหดตัวเข้าอู่เร็ว ขับเลือดเสีย มีตัวยาว่านสากเหล็ก ว่านนางคำ ว่านชักมดลูก ข้าว               เย็นทั้ง 2 หรือจะใส่ตัวยาประจำฤดูเข้าไปด้วยก็ได้ ใช้ต้มทั้งกินทั้งอาบ
 
ยาอบสมุนไพรสำหรับหญิงหลังคลอด 
มีว่านสากเหล็ก ว่านนางคำ ว่านชัดมดลูก ตะไคร้หอมหรือตะไคร้แกง ไพล ขมิ้นอ้อยหรือขมิ้นชัน มะกรูดทั้งลูกผ่าซีก ผักบุ้ง ใบมะขาม ใบส้มป่อย หอมแดง ใบหนาด กระ    เพราะหนุมานประสานกาย การบูร หญิงหลังคลอดถ้าคลอดโดยวิธีผ่าคลอดต้องรอให้แผลหายสนิท จึง                อบสมุนไพรได้ ถ้าโดยธรรมชาติ (คลอดปกติ) หลังคลอด 1 อาทิตย์ก็อบสมุนไพรได้
 

 
 


 

การให้ความหมาย และการรักษาโรคโลหิตสตรี :
กรณีอาจารย์มนาวุฒิ ผุดผาด
 
การให้ความหมาย
                มุติกิจ แปลว่า กิจที่พ้นจากปัสสาวะ คือช่องคลอด แปลเป็นไทยแปลว่า ตกขาว ระดูขาว
                อาการตกขาว ระดูขาว ถ้าไม่รักษาจะกลายเป็นมารโลหิต คือเนื้อร้าย (Cancer)
 
รูปแบบการรักษา
                ใช้ยาสมุนไพรในการรักษาหลายขนาน เช่น
1)       ยาที่แก้ระดูขาวหรือตกขาว ใช้กระบือ 7 ตัว เถาคันแดง ตะไคร้หอมตำสด ๆ ผสมสุรารับประทานวันละ 1 ก๊ง (15 cc.)
2)     ยาแก้เลือดตีขึ้น ได้แก่ ตีไม่แตก (ต้นตองแตก) ห่อไม่หัก (ว่านน้ำ) ชักไม่ออก (หญ้าคา) ยังแต่ดอกไม่มีลูก (ดอกบานไม่รู้โรย) ให้นำรากทั้ง 4 มาต้มกิน แก้เลือดตีขึ้นหรือจะใส่รากไหลเผือกกระบือ 7 ตัว เถาคันแดง ตะไคร้หอมอีกก็ได้
 
การปฏิบัติตนเมื่อมีประจำเดือน
                พฤติกรรมสุขภาพของการดำเนินชีวิตประจำวันก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อมีประจำเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1)     ขณะมีประจำเดือน ปู่ย่า ตายาย จะห้ามกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็น เพราะกลัวว่าเลือดจะตีขึ้น ขณะมีประจำเดือนโลหิตระดูกำลังขับถ่ายออกมานอกมดลูก เมื่อกินน้ำแข็งเข้าไปอาจจะทำให้เลือดตีขึ้นไปทางเส้นโลหิตดำ จะทำให้อาการลิ้นกระด้าง คางแข็ง มึนงง สลบไสล ตกค้าง ถ้าแพทย์แก้ไม่ทันก็ตาย
2)     ห้ามสระผม คือห้ามไม่ให้ใช้น้ำเย็นสระผมเพราะจะทำให้หัวเย็น เกิดอาการปวดศีรษะ ทำให้เส้นเลือดหดตัวแล้วไปเลี้ยงศีรษะไม่ดี แต่ถ้าปัจจุบันมีเครื่องทำน้ำอุ่นหรือต้มน้ำผสมให้อุ่นนำมาสระผม ได้ห้ามกินน้ำมะพร้าว เพราะว่าน้ำมะพร้าวมีสรรพคุณล้างพิษล้างยา ถ้ากินยาแก้ปวดประจำเดือนมักจะไปล้างในท้อง ทำให้ยาออกฤทธิ์น้อยลง หรือทำลายฤทธิ์ยา
 

 
 


 

การให้ความหมาย และการรักษาโรคโลหิตสตรี :
กรณีอาจารย์สินทร ไชยฉกรรจ์
 
การให้ความหมาย
                ลักษณะโลหิตสตรีมี 2 ลักษณะ คือ
1.       ปกติโทษ
2.       ทุจริตโทษ
 
ลักษณะโลหิตปกติโทษ ปกติระดูสตรีจะมีแหล่งกำเนิดอยู่ 6 แหล่ง คือ
1.     จากหัว หากคนที่มีโลหิตระดูมาจากหัวใจ เมื่อมีระดูจะทำให้มีอาการใจสั่น หงุดหงิด โกรธง่าย เป็นก่อนระดู 2-3 วัน ต่อเมื่อระดูมาก็หาย
2.       จากกระดูก อาการปวดตามข้อกระดูก ปวดเหมือนกระดูกจะแตก มีไข้ เมื่อมีระดูมาก็หาย
3.       จากผิวเนื้อ อาการสากตามผิวหนัง คัน อาจเป็นผดผื่นก่อนมีระดู เมื่อมีระดูมา อาการนี้ก็หาย
4.       จากเส้นเอ็น อาการปวดเมื่อยตามเส้นเอ็นตึงรัดเส้นเอ็น มีไข้ เมื่อมีระดูมาก็หาย
5.       จากสมอง อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เมื่อมีระดูมาก็หาย
6.       จากขั้วดี เป็นกรณีพิเศษ ทำให้ขึ้งโกรธง่าย
ซึ่งอาการเหล่านี้คือ เป็นปกติไม่ต้องรักษาก็หาย แต่หากมีอาการมากกว่านี้ แสดงเป็นโลหิตทุจริตโทษ      ซึ่งต้องทำการรักษา
 
                นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของโลหิตสตรีที่มา บางครั้งสีใส สีแดง สีดำ มากเกินไป น้อยเกินไป อาการเหล่านี้ต้องรักษาโดยมีวิธีหรือหลักการรักษาดังนี้
1.       ต้องให้ยาที่ต้องถ่ายเลือด คือยาประจุโลหิต
2.       เมื่อถ่ายเลือดเสียทิ้งไปหมดแล้ว ต้องให้ยาฟอกเลือด ยาบำรุงโลหิต
 
                ซึ่งตำรายาที่ใช้ให้ใช้ตามคัมภีร์มหาโชตรัติ เลือกตำรับไหนก็ใช้ได้ดีหมด ส่วนน้ำกระสายให้เลือกใช้ตามฤดูสมุฏฐาน และวิธีการรักษานอกจากจะให้ยากินแล้วยังมีวิธีอื่นอีก เช่น
1.       ใช้ยาประจุ
2.       ฟอกเลือด
3.       บำรุงเลือด
4.       อบสมุนไพร เพื่อปรับสภาพร่างกาย
5.       ใช้การนวดเพื่อคลายความปวดเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อเส้นเอ็น
6.       การประคบ
 
ถ้าเป็นจากสมองต้องใช้ยาพอก ถ้าเป็นรุนแรงก็ไม่ต้องรักษารีบส่งแพทย์แผนปัจจุบัน นอกจากลักษณะปกติโทษและทุจริตโทษแล้ว ยังมีโรคที่มักเป็นเมื่อระดู คือ
1.       ไข้ทับระดู คือเป็นระดูแล้วมีไข้มาทับ ใช้ยารสสุขุมในการรักษา
2.       ระดูทับไข้ คือเป็นไข้แล้วมีระดูมาทับไข้ ส่วนมากใช้ยาโลกเบญจวิเชียร
อาการที่คนไข้มาพบบ่อย ๆ ที่โรงพยาบาล บรรเทาทุกข์หญิงวัยหมดประจำเดือน อายุ 50 ปีขึ้นไปมีอาการหงุดหงิด ขี้หลงขี้ลืม พูดป้ำ ๆ เป๋อ ๆ เป็น ๆ หาย ๆ
 
การรักษา
1.       ใช้ยารักษาเกี่ยวกับลมและโลหิต เป็นยาเข้าหญ้าตีนนก ซึ่งยานี้จะมีรสสุขุม (หญ้าตีนนก) เท่ายาทั้งหลายไม่บอกส่วนผสมอื่น ๆ)
2.       การอบสมุนไพร
นอกจากนี้ยังมีอาการข้างเคียงกับโรคโลหิตสตรี คือ
 
โรคตกขาว
                สาเหตุจากการชอกช้ำ การไม่รักษาความสะอาดจากการเป็นประจำเดือน หรือ ประจำเดือนทุจริตโทษด้วยหรือน้ำคาวปลาไม่หมด (ส่วนมากเพราะไม่รักษาความสะอาด
 
การรักษา
                ใช้ยาแก้ระดูขาว หรือยาขับกระดูกหรือยาประจุ ยาพรหมพักตร์ ยาที่เข้าว่านชักมดลูก ว่านสากเหล็ก บานไม่รู้โรย
 
การแท้งบุตรและคลอดก่อนกำหนด
        การรักษา
ต้องปฏิบัติตนเหมือนคนคลอดบุตรทุกประการ คือ กินยา (ยาไฟ 5 กอง ยาไฟ อาวุธ) ยากินอยู่ไฟเป็นยาสุขุม ใช้ยาขับให้หมดก่อน (ยาให้ใช้ตามตำรามหาโชติรัติ ตำรับยาเกร็ดส่วน น้ำกระสายใช้ยานอกตำรับก็ได้ แล้วแต่ความสามารถในการหา)
 
 
 

 
การให้ความหมาย และการรักษาโรคโลหิตสตรี :

กรณี พ่อทองอ่อน สิทธิไกรพงษ์
การให้ความหมาย
                ผู้ชายกับผู้หญิงจะมีสิ่งที่แตกต่างกัน คือ ผู้หญิงจะมีต่อมโลหิต ผู้ชายจะไม่มีต่อมโลหิต ต่อมโลหิตของผู้หญิงจะเปลี่ยนมาเป็นรอบเดือน ขั้นตอนของผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชาย การเจ็บไข้ก็มากกว่า บางคนก่อนจะมีประจำเดือน จะมีอาการปวดท้อง ปวดหลัง เป็นไข้ ซึ่งอาการเหล่านี้บางคนจะมีก่อนเป็นประจำเดือน บางคนก็จะมีประจำเดือนก่อนแล้วจึงมีอาการปวดต่าง ๆ อาการเหล่านี้เรียกว่า “โรคสำหรับสตรี”
                ถ้าพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของโลหิตสตรี จะขึ้นอยู่กับธาตุทั้ง 4 ซึ่งมันปรับปรุงมาให้เป็นอย่างนั้น เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้ว ก็จะเป็นกับสตรีทุกคน หรือจะเกี่ยวกับดวงดาวก็ได้ ภูมิกำเนิดก็ได้ เช่น คนที่เกิดวันอาทิตย์ เรียกว่า ซางไฟ คนที่เกิดวันจันทร์ เรียกว่า ซางน้ำ คนที่เกิดวันอังคาร เรียกว่า ซางกะลอ เป็นต้น มันมีกำลังตั้งต้นจากนั้น ความเฉลียวฉลาดของคนสมัยก่อนจะเกี่ยวกับดวงดาว การโคจรของดวงดาว ส่วนในสมัยใหม่ก็จะไม่เชื่อ เพราะพิสูจน์ไม่ได้ เพราะปัญญาไม่ถึง หรือเพราะปฏิเสธและไม่สามารถนำเอาสิ่งที่บัญญัติมาปฏิบัติได้
 
โลหิตปกติโทษ
                คือ โลหิตที่ไม่เป็นโทษ สามารถสังเกตดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น
1)       ร่างกายแข็งแรง หน้าตาอิ่มเอิบ ผ่องใส
2)       ระบบการกินอาหารดี กินอาหารครบหมู่
3)       ระบบขับถ่ายดี
4)       ผิวพรรณดี ไม่เป็นสิว ไม่เป็นฝ้า
5)       ไม่เครียด
 
อาการแสดงออก 
ยิ้มแย้มร่าเริงแจ่มใส ไม่เครียด การทำงานไม่ฟุ้งซ่าน เลือดไม่มีกลิ่น สีไม่ช้ำ มีกำหนดอย่างน้อย 5 วัน เมื่อถึงวันที่ 5 ก็จะหาย
 
โลหิตทุจริตโทษ  
                เกิดจากร่างกายอาจจะมีการพิการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เดือนนี้ระดูใกล้มาแต่ได้รับอุบัติเหตุ รถล้มหรือได้รับการกระทบกระเทือนใจ เมื่อถึงรอบเดือน ทำให้โลหิตช้ำมีสีเขียว มาไม่ครบ
 
กำหนดกลิ่นเหม็น ความเหม็นที่เกิดขึ้นกับประจำเดือนมีที่มีดังนี้
                เหม็นซาบสาง เป็นเพราะธาตุดินพิการ
                เหม็นเหมือนปลาเน่า เป็นเพราะธาตุน้ำพิการ
                เหม็นเหมือนข้าวบูด เป็นเพราะธาตุลมพิการ
                เหม็นเหมือนหญ้าเน่า เป็นเพราะธาตุไฟพิการ
 
อาการแสดงออก 
มีมาประมาณ 1-2 วันก็หาย เลือดช้ำเพราะมีกลิ่นเหม็น
 
การรักษา
ตำรับที่ 1 เอาเบญาจกูลเสมอภาค ดีปลี 20 ส่วน รากช้าพลู 12 ส่วน เถาสะค้าน 6 ส่วน รากเจตมูลเพลิงแดง 4 ส่วน เหง้าขิงแห้ง 10 ส่วน ใช้ต้มหรือบดเป็นผงเพื่อปรับธาตุทั้ง 4 รับประทานก่อนอาหาร หลังอาหาร รับประทานไปจนกว่าอาการดังกล่าวจะหายประมาณ 7-14 วัน
ตำรับที่ 2 ดีปลี รากช้าพลู เถาสะค้าน เหง้าขิงแห้งอย่างละ 10 บาท บดเป็นผงรับประทาน 1 ช้อนกาแฟ ลายกับน้ำร้อน สำหรับผู้หญิงที่เลือดไม่ดี บำรุงโลหิต แต่ยาตำรับนี้ห้ามหญิงมีครรภ์รับประทานเพราะเป็นยาขับเลือด จะส่งผลให้เลือดของสตรีมีครรภ์แห้งลง
 
อาหารแสลง
·        เนื้อสัตว์
·        หน่อไม้
·        อาหารกลิ่นแรง เช่น ชะอม
·        อาหารหมักดอง
·        อาหารที่ไม่เคยรับประทาน เช่น อาหารทะเล
 
ข้อควรระวัง
·        หลีกเลี่ยงของที่มีกลิ่นแรง
·        หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์
·        ไม่ควรกินของที่มีรสจัด
·        ไม่ควรรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
 
อาการเลือดตีขึ้น
                จะมีอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ เป็นไข้ ถ้าหากเป็นอยู่ในระหว่างมีประจำเดือนจะเรียกว่า ไข้ทับระดู
 
การรักษา
                ให้กินยาแก้ไข้โบราณ หรือใช้ขี้เหล็กเลือด ต้มกับน้ำ 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ก่อนที่จะกิน ใช้เหล้าขาวเป็นน้ำกระสาย 1 ช้อนโต๊ะ ผสมให้เข้ากัน แล้วดื่มให้หมด อาการไข้จะหายภายใน 3 ชั่วโมง ตัวก็จะเย็นลง รับประทาน 3 เวลาก่อนอาหารและหลังอาหาร
 
เลือดสมบูรณ์
                คือ เลือดมีสีฝาด ไม่ช้ำ ไม่มีกลิ่น ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ร่างกายแข็งแรง จิตใจดีงาม ประจำเดือนมาตรงเวลา สิ่งเหล่านี้จะต้องดูจากวัยของคน สิ่งแวดล้อมและไม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

 
 


 

การให้ความหมาย และการรักษาโรคโลหิตสตรี :
กรณี อาจารย์ประกอบ อุบลขาว
 
การให้ความหมาย
                ตามโบราณกล่าวไว้ว่า ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และผนวกด้วยอากาศธาตุ กองธาตุทั้ง 4 ตั้งอยู่บนสมุฏฐาน กองสมุฏฐานตั้งอยู่บนกองโรค โรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากธาตุทั้ง 4 พิการ หรืออาจเกิดจากธาตุใดธาตุหนึ่งพิการ ทำให้เกิดโรคนอกและโรคภายในขึ้น อาการที่แสดงออกทั้งหลายนั้นเกิดจากอาหารเป็นเหตุ
                โลหิตเป็นโทษในหญิงและชายจะแตกต่างกัน เพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยสาวต้องพิจารณาเรื่องโลหิตเป็นหลัก การรักษาจะต้องพิจารณาจากเรื่องโลหิตเป็นสำคัญ ผู้หญิงนั้นร่างกายจะดี หรือทรุดโทรม ผิวพรรณจะผ่องใสหรือไม่ ต้องพิจารณาจากโลหิตเป็นหลัก ส่วนโลหิตเกิดโทษนั้นมาจากธาตุพิการ สมมุตว่าผู้หญิงที่เป็นมุตกิด ระดูขาว สาเหตุมาจากธาตุพิการ ตัวยาแก้นั้นบางหมอก็แก้โดยตรง บางหมอก็แก้เฉพาะโรค บางหมอก็ทั้งบำรุงและบำบัด
                รูปแบบการตรวจรักษาของหมอแผนโบราณนั้นไม่สามารถตรวจพิสูจน์ หรือตรวจสอบโรคได้ นอกจากฟังคำบอกเล่าจากปากของผู้ป่วย การใช้ยานั้นจึงต้องคำนึงถึงการบำรุงและบำบัดไปในตัว ระยะเวลาในการรักษาใช้ยาเพียง 1 หม้อก็หาย โดยการรักษานั้นจะต้องใช้ยาแก้ ยาแทรก ยาทา ยาล้าง ไปพร้อม ๆ กัน และงดอาหารที่แสลงกับโรค ปัญหาอยู่ที่ว่าธาตุต่าง ๆ ผิดปกติ ถ้าส่วนไหนผิดปกติก็จะมีอาการตามนั้น ตามภาษาบาลีกล่าวว่า “โลหิตตัง ชาตัง มังสังโลติตัง ชาตัง อัฐิโลหิตัง ชาตังนหารู โลหิตตัง ชาตัง หรือโลหิตที่เป็นโทษมีที่มี 5 ประการคือ
1)       จากหัวใจ
2)       จากเนื้อ
3)       จากกระดูก
4)       จากดี
5)       จากเอ็น
ถ้าประจำเดือนผิดปกติจะเปลี่ยนสี ดูว่าข้นมากไหม ถ้าข้นมากก็จะทำให้เกิดอาการปวดท้องมากพอสิ่งที่เป็นลิ่มเป็นก้อนดำออกมาหมด อาการปวดท้องก็จะหาย และถ้าไม่รักษาก็จะเป็นอย่างนี้ทุก ๆ เดือน
ถ้าโลหิตนั้นมาจากหัวใจ       ก็จะทำให้เกิดอาการคลุ้มคลั่ง ใจสั่น
ถ้าโลหิตนั้นมาจากน้ำดี        ก็จะทำให้ตัวร้อน เป็นไข้ ไข้ทับระดู ระดูทับไข้
                ถ้าโลหิตนั้นมาจากกระดูก   ก็จะทำให้ปวดตามข้อ
                ถ้าโลหิตนั้นมาจากเส้นเอ็น ก็จะทำให้ปวดตามตัว ดังใจจะขาด
                ถ้าโลหิตนั้นมาจากเนื้อ         ก็จะมีรอยช้ำเป็นจ้ำ ๆ ตามตัว (พลายย้ำ)
                ผู้หญิงนั้นไม่จำเป็นที่จะรักษาตรงอื่นเลย ให้รักษาที่โลหิตเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องคำนึงถึงยาตัวอื่น การรักษาที่โลหิตนั้นเป็นการสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย เมื่อร่างกายแข็งแรง การเจ็บป่วยก็จะไม่เกิดขึ้น และถ้าหากการรับประทานยาแล้วน้ำหนักไม่เพิ่มก็ยังไม่สามารถหยุดยาได้ แต่ถ้าน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 2 กิโลกรัมจึงสามารถหยุดยาได้
 
โรคที่เกี่ยวข้องกับโลหิตสตรีมีดังนี้
โลหิตขาว
                เกิดจากอาหารเป็นพิษ เช่น กินอาหารหมักดอง หรือกินอาหารที่มีกลิ่นคาวจัด การรักษาความสะอาดร่างกายไม่เพียงพอ เกิดจากการติดเชื้อเนื่องจากการใช้ของร่วมกัน และเกิดจากการกลั้นปัสสาวะ
 
โลหิตเป็นโทษ
                เกิดจากการกินอาหารหมักดอง อาหารที่มีกลิ่นคาวจัด หรือเกิดจากการกินอาหารประเภทซองมาก (เช่น มาม่า ขนม) หรือหญิงที่แต่งงานแล้วกินยาคุมกำเนิดมากเกินไป  โลหิตเป็นโทษมักจะมีอาการคันบริเวณช่องคลอด ปวดท้องเวลามีประจำเดือน ประจำเดือนมีกลิ่นสะอิดสะเอียนน่ารังเกียจ มีกลิ่นเหมือนปลาเน่า มีสีจาง สีเข้ม สีดำเป็นเมือก
 
ในการพิจารณารักษา
                ต้องพิจารณาจากกองสมุฏฐาน คือธาตุต่าง ๆ พิการหรือไม่ และต้องพิจารณาจากอาหารซึ่งอาหารนี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ อาหารบำรุงและอาหารที่แสลงโรค
·     อาหารบำรุง คือ อาการที่รับประทานแล้วร่างกายยอมรับ รับประทานแล้วบำรุงร่างกาย มีสุขภาพดี แข็งแรง เกิดภูมิต้านทานโรค
·     อาหารแสลงโรค คือ อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วจิตใจยอมรับ แต่ร่างกายไม่ยอมรับ เมื่อรับประทานเข้าไปนาน ๆ ก็จะเป็นโทษ
 
การรักษา
จะรักษาโดยใช้ทั้งยาบำรุงและยาบำบัดเพื่อที่จะได้ประโยชน์สองทาง นอกจากจะหายจากโรคแล้ว ร่างกายยังแข็งแรง เป็นปกติ
 
ยาที่ใช้ในการรักษา
1)       เบญจกูล
2)       โกศทั้ง 5
3)       เทียนทั้ง 5
4)       ลูกจันทน์
5)       ดอกจันทน์
6)       กระวาน
7)       ดอกกานพลู
8)       ดอกพิกุล
9)       ดอกบุนนาค
10)   ดอกสารภี
11)   เกสรบัวหลวง
12)   ดอกจำปา
13)   ดอกกระดังงา
(ในตำรับนี้ไม่ใช้ดอกมะลิ เนื่องจากดอกมะลิทำให้โลหิตเย็น)
 
บำรุงหัวใจ
1)       ชะโนด
2)       แฝกหอม
3)       ชะเอมเทศ
4)       อบเชย
5)       ขมิ้นเครือ
6)       แก่นแกแล
7)       แก่นฝาง
8)       ดอกคำฝอย
 
ตัวยาแทรก (แก้ระดูขาว)
1)       เหง้าสับปะรด
2)       แสมทั้ง 2
3)       โคกกระสุน
4)       เลือดแรด (สัตว์วัตถุ) ร้านขายยามักใช้เลือดมาแทน
5)       ดินประสิว
6)       สารส้ม
นำตัวยาแต่ละชนิดอย่างละ 1 ส่วน แล้วแต่ความเหมาะสมและต้องพิจารณาดูจากคนไข้ด้วยว่า ถ้าคนไข้เลือดจางจะต้องเพิ่มฝาง 5 ส่วน ถ้าคนไข้ใจสั่นผิดปกติ ต้องเพิ่มกฤษณา กะลำพักและขอนดอก อย่างละ 1 ส่วน
 
ตัวยาล้างโลหิต
1)       ด่างทับทิม
2)       พิมเสน
นำด่างทับทิมผสมน้ำอุ่นจาง ๆ ใส่พิมเสนลงไปพอประมาณเพื่อล้างเลือดภายใน ถ้าไม่มีด่างทับทิมสามารถใช้ใบฝรั่งแทนได้ เพราะใบฝรั่งจะมีฤทธิ์ดูดกลิ่นและล้างผนังมดลูก ดูดกลิ่นที่มีกลิ่นเหม็นออกได้
ตัวยาทา (กรณีโลหิตอันเกิดจากผิวเนื้อ)
1)       ลูกเบญกานี
2)       สารส้มสะตุ
นำตัวยาทั้ง 2 ผสมให้เข้ากันใช้ทาหลังอาบน้ำเช้า-เย็น (กรณีเป็นมากต้องการให้หายเร็ว)
 
ยาป้องกันโรคโลหิตสตรี
1)       เหงือกปลาหมอทะเล
2)       เถาบอระเพ็ด
3)       พริกไทย
ให้นำทุกส่วนเสมอภาคบดเป็นผง ผสมน้ำผึ้งรับประทาน
 
อาหารแสลงกับโรค
1)       อาหารหมักดองทุกชนิด
2)       น้ำมะพร้าว เมื่อกินเข้าไปแล้วทำให้ตัวยาหย่อนฤทธิ์
3)       อาหารพวกที่มีกลิ่นคาว เช่น ปลากระเบน ปลาฉลาม
 
อาหารผิดสำแดง
                คืออาหารที่ร่างกายไม่ยอมรับ กินเข้าไปแล้วเกิดโทษ เช่น บางคนกินเนื้อดิบก็ถ่าย บางคนกินก็ไม่ถ่าย เนื่องจากปริมาณมัคคีสมบูรณ์ไม่หย่อน บางคนกินอาหารหมักดองแล้วเกิดโทษเนื่องจากลมในท้อง ลมอโธคมาวาตาไม่สมบูรณ์ จึงเป็นเหตุตามโบราณจึงให้พิจารณาถึงสมุฏฐานเมื่อธาตุพิการจะเป็นไปได้ตามอาการนั้นและแสดงออกมาตามนั้น
                สรุปภาพรวมของการศึกษาการให้คำจำกัดความ ความหมายและรูปแบบการรักษาโรคที่เกี่ยวกับโลหิตสตรีจากแพทย์แผนโบราณ 5 ราย พบว่า รูปแบบการให้ความหมายของเลือดและที่มาของประจำเดือน มีลักษณะไปในทำนองเดียวกัน คือ มีแนวความคิดว่าเลือดระดู และประจำเดือน มีผลโดยตรงกับสุขภาพและความเจ็บป่วยของสตรี การที่จะตัดสินว่าหญิงคนใดมีความผิดปกติของร่างกาย และจิตใจหรือไม่นั้นได้มาจากการดูและวิเคราะห์การมีประจำเดือน เช่น ถ้าประจำเดือนมาเป็นปกติ มาไม่ผิดเวลา มาตรงกันทุกเดือน อีกทั้งได้จากการไต่ถามถึงลักษณะของประจำเดือน เช่น มีสีและกลิ่นผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ ถ้าไม่มีความผิดปกติของประจำเดือน จะถือว่าสตรีผู้นั้นมีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ในทางกลับกัน หากประจำเดือนผิดแปลกไปจากที่เคยเป็น เช่น มาไม่ตรงเวลา ประจำเดือนมีสีและกลิ่นผิดแผกแตกต่างไปจากที่เคยเป็น ก็จะถือว่าสตรีผู้นั้นมีความผิดปกติ บางครั้งก็ถือว่าเจ็บป่วยทางจิตใจร่วมด้วย เกณฑ์ที่แพทย์แผนโบราณใช้พิจารณาว่าโลหิตผิดปกติหรือไม่จะพิจารณาจาก
 
 
 
 
 
ลักษณะประจำเดือนปกติ – ผิดปกติ

ประจำเดือนปกติ
ประจำเดือนผิดปกติ
1)  ประจำเดือนมาทุกรอบตรงกันสม่ำเสมอทุกเดือน
2)   ประจำเดือนมาเดือนละ วัน จะก่อนกำหนดหรือ หลัง         กำหนดได้ไม่เกิน 7 วัน
3)   ประจำเดือนมาครั้งละ 3-4 วัน
4)   ประจำเดือนมีสีแดงเรื่อ ๆ
5)   ประจำเดือนมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ
6)   ไม่มีกลิ่น
7)   เมื่อมีประจำเดือน ไม่มีอาการปวดท้อง
8)   ร่างกายแข็งแรงหน้าตาอิ่มเอิบ ผ่องใส
9)   ระบบการกินอาหารดี เป็นปกติ
10) ระบบขับถ่ายดี
11) ผิวพรรณดี
12) ไม่มีสิว ไม่เป็นฝ้า
13) ไม่เครียด ยิ้มแย้ม ร่าเริง แจ่มใส
1)   ใน 1 เดือนมีประจำเดือนมากกว่า 1 ครั้ง
2)   ประจำเดือนไม่มาเลย
3)   ประจำเดือนมา ๆ หยุด ๆ
4)   ประจำเดือนมาในแต่ละครั้งมากเกินหรือน้อยเกินไป
5)   ประจำเดือนมีสีดำ
6)   ประจำเดือนมีกลิ่นไม่ค่อยสะอาด เหม็นคาว
7)   ประจำเดือนเป็นก้อน
8)   มีอาการแสดงออกทางจิตใจ เช่น หงุดหงิด
       อารมณ์ฉุนเฉียว
9)   คันช่องคลอด
10) ประจำเดือนมีลักษณะเป็นเมือก
11) ประจำเดือนมีกลิ่นเหมือนปลาเน่า

 
                เมื่อพิจารณาลักษณะประจำเดือนของผู้ป่วยแล้ว ก็จะจัดยารักษาเป็นยาสมุนไพรทั้งสิ้น และส่วนใหญ่ทั้งหมดเป็นยาตำรับซึ่งต้องใช้สมุนไพรหลายตัวรวมกัน ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมประสิทธิภาพของตัวยาให้มากยิ่งขึ้น
                ประเด็นที่สำคัญในการให้การรักษาด้วยแพทย์แผนไทยของหมอแผนโบราณทั้ง 5 ท่าน จะมีรูปแบบในการควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการกิน พฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การห้ามกินของแสลง เพราะเชื่อว่าอาหารที่กินเข้าไปนั้นจะไปเพิ่มโทษของการเจ็บป่วยให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อกินเข้าไปร่างกายจะไม่ยอมรับ กินเข้าไปแล้วเกิดโท รูปแบบโดยรวมของพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมการกินที่เป็นข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติในมุมมองของแพทย์แผนโบราณมีดังนี้
 

พฤติกรรมสุขภาพ
(ข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติ)
พฤติกรรมการกิน
(อาหารแสลง)
1)  ห้ามใช้น้ำเย็นสระผม
2)   ห้ามกลั้นปัสสาวะ
 
1)   ห้ามกินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อควาย
2)   ห้ามกินหน่อไม้
3)   ห้ามกินอาหารที่มีกลิ่นแรง เช่น ชะอม
4)   ห้ามกินอาหารหมักดอง
5)   ห้ามกินอาหารอื่น ๆ ที่ตนไม่เคยกินมาก่อน
6)   ห้ามกินอาหารรสจัด
7)   ห้ามกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็น
8)   ห้ามกินน้ำมะพร้าว
9)   ห้ามกินอาหารที่มีกลิ่นคาว

 

พฤติกรรมสุขภาพ
(ข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติ)
พฤติกรรมการกิน
(อาหารแสลง)
 
10) ห้ามกินเนื้อสัตว์ดิบ
11) ห้ามกินอาหารซอง (ประเภทขนม มาม่า ฯลฯ)
12) ห้ามกินปลากระเบน ปลาฉลาม

 
                ในส่วนของตัวยาสมุนไพรที่แพทย์แผนโบราณใช้รักษาผู้ป่วยจากการสัมภาษณ์พบว่ามีสมุนไพรที่น่าสนใจและเป็นที่นิยม โดยใช้ตัวยาหลักในการรักษาแต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังมีตัวยาขนานอื่นที่แพทย์โบราณสั่งให้แก่ผู้ป่วย สามารถสรุปได้ดังนี้
 
สมุนไพรที่ใช้ในการรักษาตามอาการ

ขับน้ำ
คาวปลา
ปรับโลหิต
รักษาระดู
ทุจริตโทษ
อบสมุนไพร
บำรุงเลือด
แก้เลือด
ดีขึ้น
แก้ตกขาว
ว่านสากเหล็ก
ว่านนางคำ
ว่านชักมดลูก
ข้าวเย็นทั้ง 2
ชะโนด
แฝกหอม
ชะเอมเทศ
อบเชย
ขมิ้นเครือ
แกแล
ฝาง
ดอกคำฝอย
ดีปลี
รากช้าพลู
เถาสะค้าน
เจตมูลเพลิง
เหง้าขิงแห้ง
ว่านสากเหล็ก
ว่านนางคำ
ว่านชักมดลูก
ดีปลี
รากช้าพลู
เถาสะค้าน
เจตมูลเพลิง
เหล้าขิงแห้ง
ว่านสากเหล็ก
ว่านนางคำ
ว่านชักมดลูก
ตะไคร้หอม
ไพล
ขมิ้นอ้อย
ขมิ้นชัน
มะกรูด
ผักบุ้ง
ใบมะขาม
ใบส้มป่อย
หอมแดง
ใบหนาด
กะเพรา
หนุมานประ-
สานกาย
การบูร
รากย่านาง
มะเดื่อชุมพร
ชิงชี่
เท้ายายม่อม
คนทา
ตองแตก
ว่านน้ำ
หญ้าคา
บานไม่รู้โรย
กระบือ 7 ตัว
เถาคันแดง
ตะไคร้หอม
ขี้เหล็กเลือด
กระบือ 7 ตัว
เถาคันแดง
ตะไคร้หอม
ว่านชักมดลูก
บานไม่รู้โรย
เบญจกูล
โกฏทั้ง 5
เทียนทั้ง 5
ลูกจันทน์
กระวาน
กานพลู
พิกุล
บุนนาค
สารภี
เกสรบัวหลวง
กระดังงา
จำปา
สับปะรด
แสมทั้ง 2
โคกกระสุน
เลือดแรด
ดินประสิว
สารส้ม







Copyright © 2010 All Rights Reserved.

เอ็กซ์ฟากรุ๊ป
โทร. 02-5384438 085-6898413 Fax. 02-5304938